ทำความรู้จักกับ STPP และ TKPP

Sodium tripolyphosphate (STPP) STPP เป็นเกลือโซเดียมของกรดไตรฟอสฟอริก มีลักษณะเป็นผงหรือเม็ดสีขาว ละลายน้ำได้ ผลิตได้จากปฏิกิริยาระหว่างโซเดียมไฮดรอกไซด์กับกรดฟอสฟอริก เป็นสารที่ทำให้การระคายเคืองเมื่อมีการสัมผัส STPP ใช้มากในการผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ใช้ทั้งในอุตสาหกรรมและบ้านเรือน…

Sodium tripolyphosphate (STPP)

stpp

STPP เป็นเกลือโซเดียมของกรดไตรฟอสฟอริก มีลักษณะเป็นผงหรือเม็ดสีขาว ละลายน้ำได้ ผลิตได้จากปฏิกิริยาระหว่างโซเดียมไฮดรอกไซด์กับกรดฟอสฟอริก

เป็นสารที่ทำให้การระคายเคืองเมื่อมีการสัมผัส STPP ใช้มากในการผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ใช้ทั้งในอุตสาหกรรมและบ้านเรือน ผลิตภัณฑ์อาหาร อาหารสัตว์ โลหะ สี เยื่อกระดาษ และเซรามิกส์ แต่ที่ใช้กันมากจะเป็นการผลิตผงซักฟอก เนื่องจากSTPP ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของส่วนผสมต่างๆ ในผงซักฟอก ช่วยในการแทรกซึมเข้าถึงเส้นใยของเสื้อผ้า (รวมถึงพื้นผิวและวัสดุอื่นๆ ที่ต้องทำความสะอาด) ได้ลึกยิ่งขึ้น ช่วยในการเกิดฟองและทำให้ฟองคงตัว 

STPP มีคุณสมบัติลดความกระด้างของน้ำช่วยให้การซักล้างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นสารบัฟเฟอร์ จับคราบสกปรกและกันไม่ให้สิ่งสกปรกย้อนกลับมาติดพื้นผิวอีก

สำหรับในอุตสาหกรรมอาหารจะช่วยเพิ่มการอุ้มน้ำของเนื้อสัตว์และอาหารทะเล ป้องกันโปรทีนเสื่อมคุณภาพ รักษาสีสรรของผลิตภัณฑ์

Tetrapotassium Pyrophosphate (TKPP)

tkpp

โปตัสเซียม ไพโรฟอสเฟต (TKPP) หรือ Tetrapotassium Pyrophosphate เป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น คุณสมบัติ ละลายได้ในน้ำ แต่ไม่ละลายในเอธานอล ใช้เป็นส่วนผสมในน้ำยาทำความสะอาดจะช่วยลดความกระด้างของน้ำ นอกจากนั้นยังทำหน้าที่เป็นอิมัลซิไฟเออร์ทำให้น้ำมันที่หลุดออกไม่สามารถกลับไปจับกับวัตถุใหม่ได้อีกด้วย

สำหรับอุตสาหหรรมการบำบัดน้ำเสีย เนื่องจาก TKPP เป็นโพแทสเซียมฟอสเฟต จึงมีความสามารถในการละลายน้ำได้สูงกว่าเมื่อเทียบกับเกลือโซเดียมชนิดอื่นๆ ทั้งยังสามารถใช้เป็นตัวยับยั้งการสะสมตัวของหินดินดานและตัวยับยั้งการกัดกร่อนได้ดี

TKPP ใช้มากในอุตสหกรรมเกษตร เนื่องจากประกอบด้วย โปตัสเซียม (K) ฟอสโฟรัส (P) ส่งเสริมการเจริญเติบโตของรากฝอยและรากแขนง ทำให้ดูดซึมธาตุอาหารในดินได้ดียิ่งขึ้น เร่งการออกดอก และสร้างเมล็ดสี ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพที่ดี ช่วยให้มีความต้านทานโรคได้ดี เพิ่มความแข็งแรงของลำต้นพืช ทั้งยังปรับสภาพ PH ของน้ำเพื่อลดความกระด้างของน้ำได้อีกด้วย

STPP VS TKPP

สารคมีทั้ง 2 ชนิดล้วนมีคุณสมบัติใกล้เคียงกันและใช้งานได้ในลักษณะเดียวกัน เช่น

  • Detergents
  • Foods
  • Agriculture
  • Buffering Agent
  • Dispersing Agent
  • Protein Modifie
  • Coagulant
  • Sequestrant
  • Mineral Supplement

เพียงแต่อยู่ในประเภทของอุตสาหกรรมที่ใช้งาน STPP ใช้มากในอุตสหกรรมครัวเรือนและบำบัดน้ำเสีย ส่วน TKPP ใช้มากในอุตสหกรรมเกษตร เป็นต้น